ReadyPlanet.com
ardo calypso
dot
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : ข้อควรปฎิบัติ
dot
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 1
bulletการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับทารก 2
bulletวิธีเลือกกุมารแพทย์ให้ลูก
bulletก่อนคลอด
bulletสิ่งที่ต้องทำเมื่ออยู่ ร.พ.
bulletหลังคลอด
bulletท่าในการให้นม
bulletBreast Crawl
bulletความคาดหวังของลูกน้อย
bulletบันทึกการให้นมลูก
bulletวิธีให้นมเสริมอย่างถูกต้อง
bulletสัมผัสรักระหว่างแม่ลูก
bulletโรงพยาบาลสนับสนุนนมแม่
bulletแบบสอบถาม
dot
ปัญหาเรื่อง นมแม่
dot
bulletวิธีแก้ปัญหานมไม่พอ
bullet"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ
bulletนมพอหรือไม่
bulletเมื่อลูกไม่ดูดนมแม่ (new)
bulletอาหารเพิ่มน้ำนม
bulletวิธีเพิ่มน้ำนมด้วยการปั๊มนม
bulletWorkshop เพิ่มน้ำนม (new)
bulletยาประสระน้ำนม
bulletDomperidone (Motilium)
bulletยาเพิ่มน้ำนม Motilium
bulletคำเตือนสำหรับการใช้ยา Domperidone
bulletน้ำหนักตัวเพิ่มช้า
bulletน้ำหนักตัวน้อย
bulletเจ็บหน้าอก หัวนมแตก
bulletการบีบหน้าอก ช่วยลูกดูดนม
bulletลูกแพ้นมแม่หรือเปล่า
bulletตัวเหลือง
bulletสารพันปัญหา
บริจาคนมแม่
dot
เมื่อแม่ต้องไปทำงาน
dot
bullet20 เคล็ดลับสำหรับแม่ทำงาน
bulletมาทำ stock น้ำนม กันเถอะ
bulletวิธีให้ลูกยอมดูดนมแม่จากขวด
bulletจะให้ลูกกินอะไรเมื่อแม่ไปทำงาน
bulletวิธีเก็บรักษานมแม่
bulletต้องเตรียมปั๊มนมไว้ให้ลูกแค่ไหนถึงจะพอดี ?
bulletโปรแกรมคำนวณนมแม่
bulletยาคุมกำเนิด
dot
คุณแม่นักปั๊ม
dot
bulletการปั๊มนมโดยใช้เครื่องปั๊มนม
bulletปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
bulletข้อคิดก่อนซื้อ ที่ปั๊มนม
bulletเพิ่มน้ำนมภายใน 14 วันแรก
bulletเครื่องปั๊มนมยี่ห้อไหนดี
bulletซื้อเครื่องปั๊มที่ไหนดี
bulletปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี
bulletเรื่องของคุณแม่นักปั๊ม
bulletถุงเก็บน้ำนมแม่
dot
กลเม็ดเคล็ดลับ
dot
bulletวิธีบีบน้ำนมด้วยมือ (new)
bulletบีบด้วยมือ vs ปั๊มด้วยเครื่อง
bullet10 เคล็ดลับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ครบปี
bulletนอนให้นม...สบายมากๆ เลย
bulletอุปกรณ์เสริม ช่วยแม่ให้นมลูก
bulletมุมให้นมแม่
bulletวิธีพาสเจอร์ไรซ์นมแม่
dot
ปัญหาที่พบไม่บ่อย
dot
bulletลิ้นติด (Tongue Tie)
bulletเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่
bulletต้องการถามปัญหาอื่นๆ
bulletทำไมทารกร้องไห้โยเย
dot
หนังสือแนะนำ
dot
bulletขอรับหนังสือนมแม่ฟรี
bulletการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletสร้างชีวิตมหัศจรรย์ด้วยน้ำนมแม่
bulletนมแม่ ทุนสมองของลูกรัก
bullet เคล็ดลับ...แม่มือใหม่ "นมแม่"
bulletเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
bulletพัฒนาสมองด้วยนมแม่...
bulletGuide to Breastfeeding
dot
แหล่งข้อมูลความรู้เรื่องนมแม่
dot
bulletคลินิกนมแม่ทั่วประเทศ
bulletนมแม่ แน่ที่สุด
bulletศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
bulletคลีนิครัก
bulletศริริราชออนไลน์
bulletสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
bulletwww.breastfeeding.com
bulletPromom
bulletรักลูก
bulletLa Leche League
bullet4woman
bulletMother & Child Health
bulletWABA
bulletBreastfeedingonline
bulletDr. Sears
bulletbreastfeedingbasics
bulletwebboard
bulletkellymom
bulletDr. Jack Newman
bulletInfact
bulletgotbreastpump
bulletNew Beginnings
bulletโครงการสายใยรัก
bulletศูนย์ข้อมูล สสส
bulletUNICEF
bulletbreastfeedingmadesimple
bullethm4hb
bulletLactation Narration
bulletNormalFed
dot
Brainfeeding
dot
bulletเก็บมาฝาก
bulletIf we don't care, who will?
bullet๖๐ เรื่องน่ารู้ ในหลวงของเรา
bulletสัมภาษณ์ ดร. อาจอง ชุมสาย ฯ
bulletคนดีของพ่อ
bulletเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้รู้
bulletคุยกับประภาส
dot
Sponsor Link
dot
bulletbfdcenter
bulletร้านนมแม่
bulletศูนย์รวมฟิล์มทุกชนิด
bulletV-Kool
bulletSuvarnabhumi Airport Hostel
bulletBussaba Bangkok Boutique Hotel Suvarnabhumi Airport
bulletbeing-mom
bulletมีลูกยาก
bulletSite Map
ปั๊มไฟฟ้า รุ่นไหนดี whisper
unimom allegro
ardo calypso
Ardo Carum
bulletนมแม่


ร้านนมแม่-เครื่องปั๊มนม
StatCounter - Free Web Tracker and Counter


"นมแม่" ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ

เริ่มจากเราต้องเข้าใจกระบวนการผลิตน้ำนมกันก่อนว่ามันทำงานอย่างไร

 

Lactogenesis I & II  น้ำนมแม่ ที่ผลิตจากการทำงานของฮอร์โมน

 

กระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกายนั้น จะแบ่งเป็นสามช่วง เริ่ม ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ได้สัก 16-22 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มผลิต Colostrum หรือหัวน้ำนม ในปริมาณน้อยนิด ช่วงนี้เรียกว่า Lactogenesis I  ต่อจากนั้นเมื่อคลอดได้ 30-40 ชม. ฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะเริ่มทำงานกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ทั้งหลายจะเริ่มรู้สึกว่านม มาแล้ว หลังจากที่คลอดได้ประมาณ 50-73 ชม. (2-3 วันหลังคลอด) ช่วงที่สองนี้เรียกว่า Lactogenesis II ค่ะ

 

ทั้งสองช่วงแรกนี้ กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน  ไม่ว่าแม่จะให้ลูกดูดนมหรือไม่ก็ตาม ร่างกายก็จะทำการผลิตน้ำนมโดยธรรมชาติ

 

 

Lactogenesis III  ถ้าไม่ให้ลูกดูด น้ำนมก็ไม่มี

 

ช่วงที่สามนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่จะไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนล้วนๆ อีกต่อไป  น้ำนมแม่จะผลิตอย่างต่อเนื่องก็ต่อเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะด้วยการดูดของลูก การบีบด้วยมือ หรือการปั๊มด้วยเครื่อง

 

ดังนั้นภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จอย่างง่ายดาย หรือยากลำบาก  ถ้าคุณแม่สามารถนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มากเท่าใดในช่วงนี้ ก็จะยิ่งช่วยให้การผลิตน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น  ในทางกลับกันการให้นมผสมในช่วงสัปดาห์แรกนี้ เป็นการแทรกแซงกลไกของธรรมชาติ  ที่เป็นการซ้ำเติมให้การผลิตน้ำนมของแม่ช้าลง

 

คุณแม่จำนวนมากได้รับความรู้ผิดๆ จากบุคลากรในโรงพยาบาลว่า น้ำนมน้อย ต้องเสริมนมผสมให้ลูกก่อน รอให้น้ำนมมาก่อน แล้วค่อยให้นมแม่ ซึ่งการทำเช่นนั้นยิ่งทำให้น้ำนมแม่มาช้ากว่าเดิม  วิธีที่จะเร่งให้น้ำนมมาเร็วๆ คือ ต้องพยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้มากที่สุด  ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธีบ่อยๆ ซึ่งในช่วงสองสามวันแรกนั้น ลูกจะหลับเป็นส่วนใหญ่ และดูดยังไม่ค่อยเก่ง แม่ก็อ่อนเพลียจากการคลอด การใช้มือบีบหรือเครื่องปั๊มคุณภาพดีจะช่วยให้สามารถนำน้ำนมออกมาจากร่างกายได้มากขึ้นกว่าการรอให้ลูกดูดอย่างเดียว  และจะช่วยให้การผลิตน้ำนมเร็วและมากขึ้น

 

แต่การบีบหรือปั๊มในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ นี้ก็มีข้อควรระวังคือ ร่างกายที่ผ่านการคลอดมาใหม่ๆ นั้น มักจะอ่อนเพลียและ sensitive การบีบหรือปั๊ม หรือแม้แต่ลูกดูด ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บมากๆ ได้ จนทำให้แม่หลายๆ ท่าน รู้สึกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นี้ช่างเจ็บปวด และทรมานเสียจริง  ขอให้เข้าใจว่าความรู้สึกเจ็บปวดทรมานแบบนั้นจะคงอยู่ไม่นาน จะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากนั้น ไม่ว่าลูกจะดูด ใช้มือบีบ หรือใช้เครื่องปั๊ม ก็จะไม่เจ็บอีกต่อไป  ทั้งนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า ลูกดูดถูกวิธี บีบด้วยมืออย่างถูกวิธี หรือใช้เครื่องปั๊มนมคุณภาพดี

 

 

 

ในน้ำนมแม่ ประกอบด้วย โปรตีนเวย์ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า Feedback Inhibitor of Lactation (FIL) เมื่อน้ำนมถูกผลิตสะสมจนเต็มเต้านม FIL จะมีมากและทำให้การผลิตน้ำนมเริ่มน้อยลงและช้าลง ในทางกลับกันเมื่อน้ำนมถูกนำออกไปจนเต้านมว่าง FIL จะน้อยลง กลไกการผลิตน้ำนมจะทำงานเร็วขึ้นและมากขึ้น

 

ฮอร์โมนโปรแล็คตินมีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการผลิตน้ำนม  กล่าวคือ ที่ผนังของเซลส์ผลิตน้ำนม (Lactocyte) นั้นจะมี ตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คติน (Prolactin receptor sites) ซึ่งจะส่งผ่านโปรแล็คตินเข้าสู่กระแสเลือดไปยังเซลส์ผลิตน้ำนม และทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม

 

เมื่อต่อมน้ำนมมีน้ำนมสะสมอยู่เต็ม ผนังของเซลส์ผลิตน้ำนมนี้จะขยายและทำให้ตัวรับฮอร์โมรโปรแล็คตินไม่สามารถส่งผ่านฮอร์โมนโปรแล็คตินได้ ซึ่งจะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง  เมื่อมีการนำน้ำนมที่สะสมมนี้ออกไป (โดยการดูด บีบ หรือปั๊ม)  ตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินก็จะกลับสู่สภาพเดิม ทำการส่งผ่านฮอร์โมนโปรแล็คตินได้ต่อไป  กระบวนการผลิตน้ำนมก็กลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง

 

ทฤษฎีการทำงานของตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินนี้ ทำให้เรารู้ว่าเมื่อมีการนำน้ำนมออกจากร่างกายได้มากและบ่อยๆ ในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด จะช่วยเพิ่มปริมาณตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินได้มากขึ้น และเมื่อมีตัวรับฮอร์โมนโปรแล็คตินมากขึ้น ก็หมายความว่าปริมาณโปรแล็คตินที่ผ่านเข้าสู่เซลส์ผลิตน้ำนมจะยิ่งมีมากขึ้น และทำให้สามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้นนั่นเอง

 

สรุปก็คือ

 

 

การผลิตน้ำนมในแต่ละวันเป็นอย่างไร

 

จากการวิจัยพบว่าปริมาณน้ำนมจะมีมากที่สุดในช่วงเช้า (เวลาดีที่สุดสำหรับการปั๊ม ถ้าต้องการทำสต็อค) และจะน้อยลงในช่วงบ่ายหรือเย็น  ในขณะที่ปริมาณไขมันในน้ำนมกลับมีน้อยในช่วงแรก และมีมากขึ้นในช่วงหลังของวัน

 

ความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านม

 

อีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีผลต่อการผลิตน้ำนม ก็คือ ความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านมของแต่ละคน ความสามารถในการเก็บน้ำนมนี้ หมายถึงปริมาณน้ำนมที่เต้านมสามารถเก็บไว้ได้ในแต่ละมื้อ  ซึ่งแม่แต่ละคนสามารถเก็บได้ไม่เท่ากัน  และแต่ละข้างของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน 

 

ความสามารถในการเก็บน้ำนมนี้ไม่ได้ถูกกำหนดด้วยขนาดของเต้านม แม้ว่าขนาดของเต้านมจะมีผลต่อปริมาณในการเก็บน้ำนมก็ตาม  ไม่ว่าหน้าอกคุณแม่จะมีความสามารถในการเก็บน้ำนมได้มากหรือน้อย ก็สามารถผลิตน้ำนมได้มากมายเหลือเฟือสำหรับลูกของตัวเองเสมอ

 

แม่ที่สามารถเก็บน้ำนมได้มากในแต่ละมื้ออาจจะช่วยให้ระยะเวลาระหว่างมื้อนมของลูกแต่ละครั้งนานกว่าโดยที่ไม่มีผลต่อปริมาณการผลิตน้ำนมและความเจริญเติบโตของลูก  ส่วนแม่ที่เก็บน้ำนมได้น้อย อาจจะต้องให้นมลูกในจำนวนครั้งที่ถี่กว่า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูก และสามารถคงปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้ เนื่องจากหน้าอกจะเต็มเร็ว (เมื่อหน้าอกเต็ม ก็จะทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง)

 

***ลองเปรียบเทียบความสามารถในการเก็บน้ำนมของเต้านมนี้กับขนาดของแก้วน้ำ  เราจะดื่มน้ำในปริมาณมากๆ  ด้วยแก้วน้ำขนาดใดก็ได้  เล็ก กลาง ใหญ่  แต่ถ้าเป็นแก้วขนาดเล็ก เราก็ต้องเติมบ่อยกว่า

 

หากต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ต้องทำอย่างไร

 

น้ำนมจะถูกผลิตอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเร็วที่ขึ้นอยู่กับว่าเต้านมนั้นว่างหรือเต็ม  น้ำนมที่ถูกผลิตจะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาระหว่างมื้อนมที่ให้ลูกดูดแต่ละครั้ง เมื่อน้ำนมสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกดูดครั้งสุดท้าย เมื่อน้ำนมเริ่มเต็ม การผลิตน้ำนมก็จะช้าลง

 

ถ้าต้องการที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน  สิ่งที่ต้องทำคือ พยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายให้เร็วขึ้นและบ่อยขึ้น เพื่อให้มีน้ำนมสะสมในเต้าในระหว่างมื้อน้อยลง

 

 

นั่นก็หมายความว่า หากต้องการเพิ่มน้ำนม จะต้องทำให้เต้านมเกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตลอดทั้งวัน ด้วยวิธีต่อไปนี้

 

  1. นำน้ำนมออกจากร่างกายให้บ่อยมากขึ้น (ด้วยการให้ลูกดูดบ่อยกว่าเดิม และ/หรือ เพิ่มการบีบหรือปั๊มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด)
  2. พยายามทำให้น้ำนมเกลี้ยงเต้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการดูดหรือปั๊มแต่ละครั้ง

 

 

ทำอย่างไรให้เกลี้ยงเต้า

 

    • ต้องให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี (ดูดอย่างมีประสิทธิภาพ)
    • ใช้การนวดเต้านมและบีบหน้าอกช่วย
    • ให้ลูกดูดเต้านมทั้งสองข้างในแตะละมื้อ  รอให้ลูกดูดข้างแรกนานจนพอใจ แล้วค่อยเปลี่ยนข้าง
    • บีบหรือปั๊มนมออกอีก หลังจากลูกดูดเสร็จแล้วและรู้สึกว่าลูกยังดูดไม่หมด ถ้าลูกดูดได้เกลี้ยงเต้าดีแล้ว  การบีบหรือปั๊มจะช่วยได้มากขึ้น ถ้าทำเพิ่มในระหว่างมื้อที่ลูกดูด (พยายามทำให้เต้าว่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้)

 

ถ้าน้ำนมมากไปจะทำอย่างไรดี

 

คุณแม่บางคนก็น้ำนมมากโดยธรรมชาติ บางคนก็กระตุ้นมากไปจนมากเกิน หากต้องการลดปริมาณการผลิตน้ำนมโดยไม่ให้มีผลกระทบกับจำนวนครั้งในการดูดของลูกหรือต้องหย่านมลูก สามารถทำได้โดยการจำกัดการดูดนมของลูก ให้ดูดเพียงข้างเดียวในแต่ละมื้อ (ระยะห่างระหว่างมื้อ 3-4 ช.ม.หรือนานกว่า) แล้วสลับข้างในมื้อถัดไป  ด้วยวิธีนี้ น้ำนมจะสะสมอยู่ในเต้าเต็มที่ก่อนที่จะเปลี่ยนข้าง (น้ำนมสะสมมากๆ à การผลิตจะลดลง)

 

การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตน้ำนมในแต่ละช่วงวัยของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

ในช่วงสองสามวันแรกหลังคลอด ก่อนจะถึงจุดที่คุณแม่เริ่มรู้สึกว่า นมมาแล้ว นั้น กระบวนการผลิตน้ำนมเกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ไม่ว่าจะอย่างไร ก็จะมีการผลิตน้ำนม (แต่ในปริมาณที่น้อย) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำน้ำนมออกจากร่างกาย

 

แต่หลังจากสองสามวันแรกผ่านไป  การผลิตน้ำนมจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง ก็ต่อเมื่อ มีการนำน้ำนมออกมาจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ (โดยการดูด การบีบหรือการปั๊ม) เต้านมจะหยุดการผลิตน้ำนม ภายในไม่กี่วัน* ถ้าไม่มีการนำน้ำนมออกจากเต้าอย่างสม่ำเสมอ (*พอๆ กับระยะเวลาที่แม่ชงนมผสมที่แจกฟรีให้ลูกกินหมดกระป๋องแรก)

 

ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ถ้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดำเนินไปด้วยดี แม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำนม มากเกินกว่า ความต้องการของลูก สังเกตได้จากอาการคัดเต้านม น้ำนมไหลซึมเลอะเทอะ ลูกดูดข้างนึง อีกข้างก็ไหลพุ่งออกมาด้วย หรือน้ำนมไหลพุ่งก่อนที่จะถึงมื้อนม สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่ สิ่งปกติที่จะเกิดขึ้นตลอดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แต่จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับตัวระหว่างปริมาณการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่ ให้เข้ากับปริมาณความต้องการน้ำนมของร่างกายลูก ในระยะ 2-3 สัปดาห์แรก (สำหรับแม่บางคน อาจจะยาวนานกว่านี้ก็ได้)

 

สำหรับทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่ล้วนๆ  จะมีความต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะค่อนข้างคงที่ในช่วง 1-6 เดือน (แต่ก็อาจจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ ของการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Growth Spurts)

 

งานวิจัยที่มีอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้พบว่าปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการจะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ หรือน้ำหนักของทารกในช่วง 1-6 เดือนแรก  ในบางกรณี ระหว่าง 6-12 เดือน (เมื่อเริ่มอาหารเสริมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทีละน้อย) ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการอาจจะเริ่มลดลงบ้าง แต่น้ำนมแม่ก็ยังเป็นอาหารหลักที่สำคัญสำหรับทารกในขวบปีแรก

 

หลังจาก 6 สัปดาห์ - 3 เดือนแรก (หรืออาจจะนานกว่านี้ สำหรับบางคน) ผ่านไป  ปริมาณของฮอร์โมนโปรแล็คตินระดับสูงซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับระยะแรกคลอด  จะค่อยๆ เริ่มลดต่ำลงกลับสู่ระดับปกติของการผลิตน้ำนมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลัง  เมื่อโปรแล็คตินกลับสู่ระดับปกติในช่วงนี้ คุณแม่จะไม่รู้สึกว่าหน้าอกคัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมที่เคยไหลซึมก็น้อยลง หรือหายไปเลย ไม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลพุ่ง ไม่รู้สึกถึงกลไกการหลั่งน้ำนม (Let down reflex) และปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็อาจจะลดลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็น เรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่า ปริมาณการผลิตน้ำนมของคุณลดลงแต่อย่างใด 

 

จงจำไว้ว่าในช่วงแรกนั้น ปริมาณน้ำนมทีผลิตนั้น มากเกินกว่า ความต้องการ ทำให้มีการคัดตึง และไหลซึมเลอะเทอะ  เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ปริมาณการผลิตน้ำนมจะพอดีกับความต้องการของลูก โดยไม่มีส่วนเกิน ไม่ใช่ผลิตน้อยลงจนไม่พอ อย่างที่ทุกคนกังวล  ขอเพียงให้ลูกดูด และหรือ บีบหรือปั๊มออกอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ให้นมผสมเพิ่ม  ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับความต้องการของลูกในแต่ละวัยไปตราบนานเท่าที่ต้องการ

 

 

รู้สึกว่าหน้าอกไม่คัดตึง นิ่ม เหมือนไม่มีน้ำนม น้ำนมแห้งแล้วหรือเปล่า?

 

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกว่าหน้าอกเริ่มจะไม่คัดตึง นิ่ม เหลว เหมือนไม่มีน้ำนม เมื่อเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์หลังคลอด

 

หลังจากสัปดาห์แรกๆ (6-12 สัปดาห์ หรือนานกว่านี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน) ผ่านพ้นไป คุณแม่จำนวนมากรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับปริมาณน้ำนมของตน เมื่อสังเกตเห็นว่า นมที่เคยปั๊มได้มีปริมาณลดลง หรือรู้สึกว่าหน้าอกนิ่ม เหลว ไม่คัดตึง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ แม้ว่าบางครั้งอาจจะรู้สึกคัดตึงบ้าง ถ้าเว้นช่วงการให้ลูกดูด หรือปั๊มนานกว่าปกติ

 

ความรู้สึกว่าหน้าอกคัดตึง เต็มไปด้วยน้ำนม ในช่วงสัปดาห์แรกๆ นั้นไม่ใช่เรื่องปกติ ตลอดช่วงระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่ร่างกายของแม่ยังไม่สามารถปรับตัวให้รับรู้กับปริมาณความต้องการน้ำนมของลูกได้

 

ในช่วงเวลาหนึ่ง โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 6-12 สัปดาห์ (อาจจะนานกว่านี้ สำหรับบางคนที่มีนมเยอะมากๆ)ปริมาณการผลิตน้ำนมจะปรับเข้าที่ จะรู้สึกว่าหน้าอกคัดน้อยลง นิ่มเหลว เหมือนไม่มีน้ำนม ไม่มีการไหลซึม ไม่รู้สึกถึง let-down และถ้าปั๊ม ก็จะได้ปริมาณน้อยลงกว่าเดิม

 

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกายผลิตน้ำนมน้อยลง  แต่เป็นสิ่งที่บอกว่า ร่างกายสามารถรับรู้แล้วว่าปริมาณน้ำนมเท่าใดจึงจะพอดีกับความต้องการ ไม่จำเป็นต้องผลิตให้มากเกินไปอีกต่อไป

 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดก็ได้ แตกต่างกันไปในแต่ละคน  มีคุณแม่จำนวนมากที่ไม่ค่อยรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เป็นเรื่องปกตินี้  เพราะส่วนใหญ่มักจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ไม่เคยรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงนี้ (หรือบางทีก็เข้าใจผิดๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสัญญาณบอกว่านมกำลังจะแห้ง ทำให้เลิกให้นมแม่ แล้วไปให้นมผสมแทน)  

 

ทำไมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้

 

โดยปกติหลังจากที่เราเริ่มจะรู้สึกว่า น้ำนมมาแล้ว นั้น กระบวนการผลิตน้ำนมจะถูกควบคุมโดยการนำน้ำนมออกมาจากร่างกาย (ถ้ามีการดูดหรือปั๊มออกมา ก็จะมีการผลิตน้ำนมต่อไป ถ้าไม่มีการดูดหรือปั๊มออกมา ก็จะหยุดการผลิต)  แต่กระนั้นก็ตาม  ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ฮอร์โมนซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำนมในช่วงแรก (Lactogenesis I&II) นั้น ยังคงมีอยู่ในระดับสูง ซึ่งป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้เกินกว่าความต้องการ  

 

การที่ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีระดับสูงเช่นนี้ ก็เพื่อช่วยในการผลิตน้ำนมให้ได้มากขึ้นถ้ามีความต้องการ (แม้ว่าจะมีลูกแฝดสอง หรือสาม แม่ก็จะสามารถผลิตน้ำนมได้พอสำหรับลูกทุกคน)  หลังจาก 2-3 เดือนแรกผ่านไป ระดับของฮอร์โมนโปรแล็คตินซึ่งปกติจะสูงในช่วงสัปดาห์แรกๆ จะค่อยๆ ลดลงสู่ระดับปกติในที่สุด หลังจากนั้นการผลิตน้ำนมของแม่ก็จะปรับได้พอดีกับความต้องการของลูก (ไม่มีส่วนเกินอีกต่อไป)

 

ต้องใช้เวลาให้นมเต็มเต้าก่อนให้ลูกดูดหรือปั๊มหรือเปล่า

 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดๆ ว่า ต้องให้ลูกดูดให้เกลี้ยง แล้วก็ต้องรอให้เต็มใหม่เสียก่อน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

 

ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมอยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นจริงๆ แล้ว เต้านมจะไม่เคยเกลี้ยงจริงๆ  จากการวิจัยพบว่า ทารกไม่ได้ดูดนมจนหมดเต้า  ปริมาณน้ำนมที่ทารกดูดออกไปนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหิวของทารกในแต่ละครั้ง แตกต่างกันในแต่ละมื้อ โดยปกติจะประมาณ 75-80 % ของปริมาณน้ำนมที่มีในเต้านม

 

ความพยายามที่จะทำให้นมเกลี้ยงเต้า ก็เหมือนกับความพยายามที่จะทำให้แม่น้ำแห้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  เพราะเมื่อน้ำนมถูกนำออกไป ก็จะมีการผลิตน้ำนมใหม่เข้ามาแทนที่

 

ยิ่งทำให้เต้านมมีน้ำนมน้อยลง (ดูดหรือปั๊มออกบ่อยๆ) เท่าใด  เต้านมก็จะยิ่งผลิตน้ำนมเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อลูกดูดนมไปได้เยอะแค่ไหน การผลิตนำนมก็จะมากขึ้นเท่านั้น

 

การกำหนดเวลาทุกกี่ช.ม. เพื่อให้ลูกดูดนมในแต่ละมื้อหรือปั๊มนั้น (เพราะเข้าใจผิดๆ ว่าต้องรอให้นมเต็มเต้าเสียก่อน) ไม่ได้ช่วยให้น้ำนมผลิตได้มากขึ้น  ในทางตรงข้าม การทำเช่นนั้น (เว้นช่วงห่างระหว่างมื้อนม หรือการปั๊มนานๆ ) บ่อยๆ  จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมน้อยลงเรื่อยๆ  เพราะการที่มีน้ำนมสะสมในเต้ามากๆ จะยิ่งทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง

 

ข้อมูลอ้างอิง : How does milk production work? By Kelly Bonyata, BS, IBCLC

 

 

ต้องการแสดงความเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับ บทความนี้ หรือต้องการถามปัญหาเพิ่มเติม กรุณากรอกรายละเอียดด้านล่างค่ะ

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด